top of page

Queen of TREND begins :

A Trend Forecaster guides

 

ใครๆก็มักจะสงสัยเสมอว่า 'Trend' แฟชั่นเกิดขึ้นได้ยังไง แล้วใครกันนะที่เป็นคนคิด เราเองก็เคยเป็นคนนึงที่สงสัยกับสิ่งๆนี้มาก่อน มันทำให้การเดินทางเราเริ่มขึ้นตั้งแต่ตัดสินใจไปเรียนต่อ Master ที่ Polimoda เมืองflorence ประเทศอิตาลี เรียกได้ว่ากว่าจะได้เข้าไปเรียน Master of Fashion Trend Forecasting  Programme นี้ก็เกือบจะแทบแย่กับการสอบ ส่งportfolio และ interviewเข้าเรียนเลย แต่ยังไงสิ่งที่ได้รู้ได้เห็นหลังจากนั้นมันคุ้มค่าน่าสนุกกว่าที่เราคิดไว้มากเลยทีเดียวเพราะมันนำมาสู่อาชีพที่บางคนก็ว่าโก้หรู ชีวิตสวย เพราะได้เดินทางรอบโลกไปยังเมืองต่างๆมากมาย แต่สำหรับเรามันเป็นอะไรที่น่าตื่นเต้น เคล้าความเกร็ดความรู้จากผู้คนที่เราพบเจอทุกๆครั้งที่ได้เป็นตัวแทนจาก inFASH Thailand ไปประชุมเทรนด์โลก INTERCOLOR 

 

 

INTERCOLOR  ตามที่ได้ยินมาจากพี่ๆใน inFASH บอกว่าเป็นการประชุมเทรนด์โลกที่เป็นองค์กรกลางระหว่างประเทศที่ร่วมกันจัดตั้งขึ้นมาเพื่อหาแนวโน้มเทรนด์โลกในแต่ละซีซั่น โดยแต่ละประเทศจะมีองค์กรที่ถูกคัดเลือกให้เป็นตัวเเทนของประเทศนั้นซึ่งจะต้องเป็นองค์กรที่มี connection สามารถเป็น Hub สำหรับภาคเอกชนและภาครัฐบาล และยังต้องมีผู้เชี่ยวชาญเชิงลึกด้าน Color, Material Science และ Research สำหรับประเทศไทยก็คือ Thailand Institute of Fashion Research (inFASH) ที่เราเป็น Trend Researcher เราจำความรู้สึกแรกที่ได้รู้ว่าจะได้เป็นตัวแทนไปประชุม INTERCOLOR ในซีซั่น SS2014 เป็นครั้งแรก จะเรียกว่าบังเอิญหรือเป็นโชคชะตาตั้งแต่ตัดสินใจมาสมัครงานที่ infash แล้วแหละ ดูเหมือนว่าการที่จะไปประชุมเทรนด์โลกที่จะต้องแบกคำว่าตัวแทนประเทศ ที่ฟังดูเป็นความรับผิดชอบที่หนักอึ้งขนาดนี้ กับ trend forecaster หน้าใหม่อย่างเราที่จะมารับหน้าที่นี้  และเราก็คงทำให้เค้าผิดหวังไม่ได้สินะ ว่าแล้วเราก็เริ่มทำการ Research ข้อมูลเพื่อเตรียมพร้อมจะไปพรีเซ้นท์เทรนด์ประเทศไทย Trend Thailand

 

เราเริ่มจากวิธีการตามที่เรียนมาตอน Master เป๊ะๆ สมัยที่ไปเรียนต่อ Polimoda ตอนนั้น professor Aki สอนว่าเราเริ่มจากการทำ Primary Research แปลเป็นไทยก็คือการค้นคว้าข้อมูลแบบปฐมภูมิ แปลไทยเป็นไทยอีกทีก็คือการที่เราเริ่มค้นคว้าข้อมูลที่เรามีประสบการณ์ตรงเองจริงๆ เช่น การสังเกตการณ์ observation แบบเวลาที่เราสังเกตพฤติกรรมของคนในสถานที่ต่างๆ ตามห้างสรรพสินค้า ท้องถนน หรือไม่ว่าจะเป็นพฤติกรรมการใช้จ่าย การconsumeของเขา และไม่ใช่แค่นั้น Primary Research ยังสามารถเป็นการสัมภาษณ์พูดคุยกับผู้รู้ก็ได้นะ อย่างน้อยการที่เราได้ฟังและคิดตามก็สามารถเป็นข้อมูลให้ได้เช่นกัน ที่แน่ๆคืออย่าปล่อยให้จินตนาการหลุดลอยไป วิธีการส่วนใหญ่ที่นักคิดเทรนด์มักจะใช้ในการบันทึกไอเดียก็มีตั้งหลายอย่าง การถ่ายรูปผ่านสายตาของเราเองก็เป็นวิธีที่ดีและเร็วที่สุด เราจะได้สัมผัสด้าน visual มากที่สุด แต่วิธีแบบอาร์ตๆอย่างการ sketch และ การบันทึก shortnote ก็ช่วยได้มากทีเดียว เพราะฉะนั้นนิสัยการพก sketchbook หรือ  tablet ไว้ตลอดเวลาจึงเป็นสิ่งที่พึงจะทำอย่างมาก นี่จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมในศาสตร์ของการคิดเทรนด์จึงให้ค่ากับการทำ Primary Research มากที่สุด ก็เพราะว่ามันได้ผ่าน สัมผัสทั้ง 5 ของผู้วิจัยมาด้วยตนเอง เรื่อง Sense เป็นเรื่องที่สำคัญมากในการที่เราจะทำงานสาย Trend Forecasting เพราะนอกจากเราต้องตีความเรื่องราว Conceptual ต่างๆเป็น Visual แล้ว เรายังต้องถ่ายทอดเรื่องราวทิศทางของเทรนด์ให้ดีไซเนอร์เข้าใจอีกด้วย ซึ่งส่วนมากก็ไม่พ้นการใช้ประสาทสัมผัสพื้นฐานทั้ง 5

 

 

 

Reading List : Josephine Steed Frances Stevenson, ‘Sourcing ideas’

 "Research is the first- if you're not interested, you never can find something" - Issey Miyake

 

ข้อมูลอื่นๆที่เราจะหามาประกอบให้จุดตั้งต้นเรามีนํ้าหนักมากขึ้นก็ใช้วิธี Secondary Research เรียกอีกอย่างว่า Contextual Research หรือก็คือ การค้นคว้าแบบทุติยภูมิ ซึ่งมันหมายถึงการหาข้อมูลจากแหล่งข้อมูลต่างๆที่ไม่ได้ experience ด้วยตนเอง เช่น สิ่งพิมพ์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น หนังสือ ตำรา บทความ นิตยสาร บล็อค ภาพยนตร์ เพลง ผลงานของคนอื่นนั่นแหละค่ะ แต่ว่าก็ว่านะคะ สิ่งนี้มีประโยชน์มากเพราะบางสิ่งที่มันยากต่อการศึกษาเองจริงๆ เช่น ภาพจากกล้อง microscopeที่ส่องดูเซลล์เม็ดเลือดจากร่างกายเรา หรือศิลปะการตกแต่งสถาปัตยกรรมสมัยอาร์ตนูโวที่จะต้องบินไปดูตึก Casa Batllo ถึงที่ประเทศสเปนแล้วล่ะก็ เราว่าหาข้อมูลผ่าน secondary research ก็เป็นวิธีที่สมเหตุสมผลไม่น้อยเลย อีกอย่างบางทีการค้นหา reference ที่ตรงตามใจเราจริงๆ ก็มักจะมาจากการที่เราเห็นมาก รู้มาก และเอาทั้งหมดมาเลือกดูอีกที ผสมผสานกับไอเดียของเราเอง ก็ออกมาเป็น Live Project (visualisation) ได้ไม่ยาก

 

Diagram : ขั้นตอนการทำงานของ Fashion Trend Forecaster

มาถึงจุดนี้ ยังไม่รู้เลยว่าเทรนด์อะไรดี เราต้องเริ่มจากการหา Starting point คือไอเดียเริ่มแรกที่เข้ามา kick start idea ของเทรนด์ ส่วนใหญ่มักจะเกิดจารการที่เราใช้ชีวิต คืออาจฟังดูเหมืองไม่ได้ทำอะไรมาก แต่มันเป็นการสังเกตโลกรอบๆตัวว่าอะไรคือ'จุดเปลี่ยน' และมันจะส่งผลต่อไปอย่างไร จุดนี้เป็นจุดที่ Primary Research มีประโยชน์มาก คือเมื่อไร่ก็ตามที่คิดเทรนด์ไม่ออก ก็ต้องออกไปหาไอเดีย แต่การจะตามหาเทรนด์จากสิ่งรอบๆตัวก็แสนจะยาก trend forecaster ส่วนใหญ่จึงมักจะเริ่มจาก'คน' (THE WHO)ใครกันที่เรามองว่าเป็น Innovator เราก็จะสังเกตและหาข้อมูลจากคนเหล่านั้น จำได้ว่าช่วงที่กำลังทำ Trend Research เป็นช่วงที่ประเทศไทยกำลังฟื้นจากสถานการณ์นํ้าท่วมหนัก และมันก็เป็นประเด็นที่ส่งผลกระทบระยะยาวให้กับ way of life ของคนไทยเลยแหละ เราจับประเด็นเรื่องนํ้า ของเหลว สี fade ที่ผ่านการชะล้างจากนํ้า สีที่มากับนํ้า รูปแบบการขยายเมืองทีกำลังจะเปลี่ยนไป ชีวิตที่ได้รับอิทธิพลจากนํ้า เริ่มแตกไอเดียความคิดโดยใช้ mind mapping ในขณะที่ในหัวมีภาพ visual effect สีพาสเทลอ่อนๆวิ่งไปวิ่งมา แล้วก็พบว่าแค่เรื่องๆเพียงเรื่องเดียวทำไมถึงแตกประเด็นย่อยได้มากมายขนาดนี้ เราเริ่มออกถ่ายภาพสภาพของสีที่เปลี่ยนแปลงไปจากการแช่ในนํ้าเป็นเวลานาน บ้างก็ขอยืมภาพจากเพื่อนที่เป็นช่างภาพ เอามาวิเคราะห์ เปรียบเทียบ หาข้อมูลประกอบ สร้างเป็นเรื่องราวของเทรนด์สีได้ดีทีเดียว แต่นี่ยังเพิ่งเริ่มต้นเท่านั้น เรายังขาดข้อมูลอ้างอิงอื่นๆอีกที่ได้คิดเอาไว้ในตอนต้น คำถามจะต้องเกิดขึ้นแน่นอนว่า’ทำไม’ คุณถึงคิดว่าสิ่งที่กำลังนำเสนอ จะกลายเป็นเทรนด์ จุดนี้เองที่ contextual research เข้ามามีประโยชน์มาก เพราะเราจะต้องหา proof ที่จะมา support เทรนด์เรา นี่คือขั้นตอนต่อไปหลังจากได้ trend starting point (THE WHAT) แล้ว คือการที่จะต้องหา trend impact (THE WHY) นั่นเอง

<<< มักเป็นเรื่องธรรมชาติที่ trend forecaster จะมี connection กับ innovator หลากหลายสาขาอาชีพ เพื่อที่จะช่วยในการเข้าถึงแหล่งข้อมูลและคาดการณ์เทรนด์ล่วงหน้าได้ อย่างเช่นถ้าเรารู้ว่ากำลังมีสิ่งประดิษฐ์ใหม่ในอนาคต trend forecaster ก็จะคาดการณ์ต่อไปใน scenario กว้างๆคือ look forward ไปอีกนั่นเอง

บรรยากาศในการทำ Trend Scenario 

<<<หลังจากที่ได้ kick start idea แล้วอีกสิ่งต่อมาที่ trend forecaster มักจะทำได้ดีคือการตั้งชื่อเทรนด์นั้นๆ เพราะฉะนั้นสำคัญมากที่เราจะต้องมี keyword ในหัวอยู่ค่อนข้างเยอะ เราจะได้เอาไว้ใช้เรียกชื่อ trend ของเราและบางทีอาจเกิดศัพท์ใหม่ก็ได้ใครจะรู้

Color palette ของสีที่ถูก wash จากพลังของนํ้า

<<<การหา proof สำคัญมากเพราะมันจะช่วยทำให้ trend ที่คิดมาน่าเชื่อถือ ซึ่งสามารถเป็นบางอย่างที่ cross reference กันก็ได้ ไม่ว่าจะเป็น สังคม วัฒนธรรม ศิลปะ แฟชั่น และอีกมากมาย

 

 

 

คิดว่าน่าจะพอเข้าใจการคาดการณ์เทรนด์ Trend Forecasting และ นักคาดการณ์เทรนด์ Trend Forecaster กันไปพอสมควรแล้วนะคะ เรื่องราวแห่งการเดินทางของ trend forecaster ยังเพิ่งเริ่มต้น กับภารกิจแรก การประชุม intercolor ที่ เมือง Guimaraes , Portugal ยังมีเรื่องสนุกๆปนความรู้เบาๆอีกมากในตอนหน้าจ้า

 

QOT

bottom of page